A theme of the age, at least in the developed world, is that people crave silence and can find none. The roar of traffic, the ceaseless beep of phones, digital announcements in buses and trains, TV sets blaring even in empty offices, are an endless battery and distraction. The human race is exhausting itself with noise and longs for its opposite—whether in the wilds, on the wide ocean or in some retreat dedicated to stillness and concentration. Alain Corbin, a history professor, writes from his refuge in the Sorbonne, and Erling Kagge, a Norwegian explorer, from his memories of the wastes of Antarctica, where both have tried to escape.
And yet, as Mr Corbin points out in "A History of Silence", there is probably no more noise than there used to be. Before pneumatic tyres, city streets were full of the deafening clang of metal-rimmed wheels and horseshoes on stone. Before voluntary isolation on mobile phones, buses and trains rang with conversation. Newspaper-sellers did not leave their wares in a mute pile, but advertised them at top volume, as did vendors of cherries, violets and fresh mackerel. The theatre and the opera were a chaos of huzzahs and barracking. Even in the countryside, peasants sang as they drudged. They don’t sing now.
What has changed is not so much the level of noise, which previous centuries also complained about, but the level of distraction, which occupies the space that silence might invade. There looms another paradox, because when it does invade—in the depths of a pine forest, in the naked desert, in a suddenly vacated room—it often proves unnerving rather than welcome. Dread creeps in; the ear instinctively fastens on anything, whether fire-hiss or bird call or susurrus of leaves, that will save it from this unknown emptiness. People want silence, but not that much. | สิ่งที่คนเราแสวงหาในยุคนี้ อย่างน้อยในประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็คือ คนเรากระหายความเงียบ แต่ไม่สามารถจะหาเจอ เสียงอึกทึกจากการจราจร เสียงบี๊ปที่ไม่ขาดสายจากโทรศัพท์ เสียงประกาศอัตโนมัติในรถประจำทางและรถไฟ เครื่องรับโทรทัศน์ที่เปิดค้างไว้แม้ในที่ทำงานที่ว่างเปล่า เหล่านี้คือ สิ่งรบกวนที่เกิดขึ้นตลอดเวลาและทำให้เราขาดสมาธิ มนุษย์เรากำลังเหน็ดเหนื่อยกับเสียงรบกวนรอบกาย และปรารถนาความเงียบสงบ เช่นในป่าเขา ในห้วงมหาสมุทรกว้าง หรือในสถานที่ที่เน้นความสงบเงียบและสมาธิ อเลน คอร์บิน ( Alain Corbin) ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์เขียนจากแหล่งมุมสงบของเขาในซอร์บอนน์ และเออร์ลิง เคจจ์ ( Erling Kagge) นักสำรวจชาวนอร์เวย์จากความทรงจำเกี่ยวกับขยะและของเสียในแอนตาร์กติกา ที่ซึ่งทั้งสองคนพยายามจะหลบหนี ศาสตราจารย์คอร์บิน ยังได้แสดงความคิดเห็นในบทความ "ประวัติศาสตร์ของความเงียบ" ว่า โลกเราอาจจะไม่เคยเจอเสียงรบกวนมากมายเท่ายุคนี้ ก่อนที่จะมียางรถยนต์ที่เติมด้วยลม ถนนในเมืองจะเต็มไปด้วยเสียงกระทบของขอบล้อโลหะและเกือกม้าบนพื้นหิน ก่อนที่คนเราจะปลีกตัวอยู่แต่กับโทรศัพท์มือถือ บนรถประจำทางและรถไฟจะอื้ออึงด้วยเสียงคุยกัน คนขายหนังสือพิมพ์จะไม่ทิ้งกองหนังสือพิมพ์ของเขาไว้กับความเงียบ แต่จะตะโกนร้องขายสินค้าอย่างสุดเสียง เช่นเดียวกับคนขายเชอร์รี่ คนขายดอกไวโอเล็ต และคนขายปลาแม็กเคอเร็ลสดๆ โรงละครและโรงโอเปร่าจะดูวุ่นวายราวกับกองทัพและค่ายทหาร แม้ในชนบท ชาวนาจะร้องเพลงขณะที่พวกเขากำลังออกแรงทำงาน แต่ในตอนนี้พวกเขาไม่ร้องเพลงเสียแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ใช่ระดับความดังของเสียงรบกวน ที่ถูกพร่ำบ่นแม้ในศตวรรษก่อนหน้า ทว่ามันคือระดับของสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจ ซึ่งมาครองพื้นที่ของความเงียบ และก่อให้เกิดความขัดแย้งในตัวเองขึ้นมา เพราะเมื่อมันรุกเข้าถึงความลึกของป่าสน ในท้องทะเลทรายที่เวิ้งว้าง ในห้องว่างเปล่า มันมักจะเป็นความน่าตื่นกลัวมากกว่าความน่ายินดี เมื่อความน่าสะพรึงกลัวคืบคลานเข้ามา และหูของเรามักจดจ่อฟังเสียงเหล่านั้นโดยสัญชาตญาณ ไม่ว่าจะเป็นเสียงฟู่ของไฟ เสียงนกร้อง หรือเสียงเสียดสีกันของ ใบไม้ที่จะช่วยคลายความว่างเปล่าที่ไม่คุ้นเคย คนเราต้องการความเงียบก็จริง แต่ไม่ใช่เงียบเสียจนเกินไป |