A theme of the age, at least in the developed world, is that people crave silence and can find none. The roar of traffic, the ceaseless beep of phones, digital announcements in buses and trains, TV sets blaring even in empty offices, are an endless battery and distraction. The human race is exhausting itself with noise and longs for its opposite—whether in the wilds, on the wide ocean or in some retreat dedicated to stillness and concentration. Alain Corbin, a history professor, writes from his refuge in the Sorbonne, and Erling Kagge, a Norwegian explorer, from his memories of the wastes of Antarctica, where both have tried to escape.
And yet, as Mr Corbin points out in "A History of Silence", there is probably no more noise than there used to be. Before pneumatic tyres, city streets were full of the deafening clang of metal-rimmed wheels and horseshoes on stone. Before voluntary isolation on mobile phones, buses and trains rang with conversation. Newspaper-sellers did not leave their wares in a mute pile, but advertised them at top volume, as did vendors of cherries, violets and fresh mackerel. The theatre and the opera were a chaos of huzzahs and barracking. Even in the countryside, peasants sang as they drudged. They don’t sing now.
What has changed is not so much the level of noise, which previous centuries also complained about, but the level of distraction, which occupies the space that silence might invade. There looms another paradox, because when it does invade—in the depths of a pine forest, in the naked desert, in a suddenly vacated room—it often proves unnerving rather than welcome. Dread creeps in; the ear instinctively fastens on anything, whether fire-hiss or bird call or susurrus of leaves, that will save it from this unknown emptiness. People want silence, but not that much. | หัวข้อการอภิปรายแห่งยุคนี้ อย่างน้อยก็ในโลกที่พัฒนาแล้ว ก็คือการที่ผู้คนต่างต้องการความเงียบสงบ แต่ก็ไม่สามารถหาได้จากที่ไหนเลย เสียงการจราจรที่อึงคะนึง เสียงโทรศัพท์ที่ดังขึ้นไม่หยุดหย่อน เสียงประกาศจากระบบในรถประจำทางและรถไฟ เสียงโทรทัศน์แม้แต่ในออฟฟิศที่ว่างเปล่า ล้วนเปรียบเสมือนเสียงกองปืนใหญ่และความวุ่นวายที่ไม่มีวันจบสิ้น มวลมนุษยชาติกำลังลดทอนกำลังของตัวเองด้วยเสียงรบกวนแต่กลับปรารถนาสิ่งที่ตรงกันข้าม ไม่ว่าจากในป่าเขาลำเนาไพร ในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ หรือ ในการหลีกหนีไปบำบัดจิตใจที่มุ่งเน้นเรื่องความสงบนิ่งและการตั้งสมาธิ อเลน คอร์บิน อาจารย์วิชาประวัติศาสตร์ เขียนจากการหลีกหนีไปอยู่ที่ซอร์บอนน์ของเขา และ เออร์ลิง คากเกอ นักสำรวจชาวนอร์เวย์ เขียนจากความทรงจำของเขาต่อที่รกร้างในแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทั้งสองพยายามหนีไปหลบอยู่ แต่กระนั้น ตามที่ คอร์บิน ไดชี้ในเห็นในหนังสือ A History of Silence เสียงรบกวนนั้นคงไม่ได้มีมากไปกว่าที่มันเคยมีมาแต่ก่อน ก่อนที่จะมียางสูบลม ถนนในเมืองต่างก็เต็มไปด้วยเสียงก๊องแก๊งอันน่าหนวกหูของล้อเทียมเกวียนและเกือกม้าที่กระทบบนหิน ก่อนที่ผู้คนจะแยกตัวออกห่างจากสังคมไปกับโทรศัพท์มือถืออย่างสมัครใจ รถประจำทางและรถไฟต่างก็คราคร่ำไปด้วยเสียงสนทนา คนขายหนังสือพิมพ์ไม่ได้กองสินค้าเอาไว้เป็นตั้งอย่างเงียบๆ แต่กลับตะโกนสุดเสียงเพื่อโฆษณา เช่นเดียวกับคนขายเชอร์รี่ ดอกไวโอเล็ต และ ปลาแมคเคอเรลสด โรงมหรสพและโรงอุปรากรต่างเซ็งแช่ไปด้วยเสียงโห่ร้องและโห่ไล่ แม้แต่ในชนบท ชาวนาก็ร้องเพลงไปด้วยในขณะที่ตรากตรำทำงานหนัก แต่ปัจจุบันนี้พวกเขาเลิกร้องแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนไปนั้นไม่เชิงว่าเป็นระดับของเสียงซึ่งคนทศวรรษที่ผ่านๆ มาก็ได้บ่นถึงอยู่เช่นกัน แต่กลับป็นระดับของความวุ่นวายที่เข้าครอบงำพื้นที่ที่ความเงียบจะสามารถกล้ำกรายเข้ามาได้ นี่จึงทำให้เกิดความย้อนแย้งอีกอย่างขึ้นมา เพราะเมื่อความเงียบได้กล้ำกรายเข้ามาจริงๆ เช่นในป่าสนลึก ในทะเลทรายที่ว่างเปล่า หรือในห้องที่ถูกทิ้งให้ว่างอย่างกะทันหัน ความเงียบนั้นจะเป็นสิ่งที่น่าตกใจมากกว่าน่ายินดี ความน่าสะพรึงกลัวจะคืบคลานเข้ามาแทนที่ หูจะจับทุกเสียงไปเองโดยสัญชาตญาณ ไม่ว่าจะเป็นเสียงฟู่ของกองไฟ เสียงนกร้อง หรือเสียงกรอบแกรบของใบไม้ ซึ่งเป็นเสียงที่จะช่วยให้หูหลุดพ้นจากความว่างเปล่าที่มันไม่คุ้นเคยนี้ คนเราต้องการความเงียบสงบ แต่ก็ไม่ได้มากขนาดนั้น |